13 เม.ย. 2554

เคล็ดลับสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับผู้บริหาร




มีผู้กล่าวว่าการขึ้นสู่ความเป็นผู้นำนั้นว่ายากแล้ว แต่การรักษาสถานะความเป็นผู้นำไว้ให้มั่นคง ยาวนานและเป็นที่ยอมรับอย่างจริงใจนั้นยากกว่า คำกล่าวนี้ถึงแม้ว่าจะฟังดูเศร้า
แต่ทว่าเป็นเรื่องจริงที่ครึ่งหนึ่งของพนักงานยังไม่รู้สึกไว้วางใจในตัวผู้บริหารในองค์กร หรือหัวหน้างานในระดับสูง จากการสำรวจได้แสดงให้เห็นว่า 52 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานไม่เชื่อถือข้อมูลที่ได้รับจากผู้บริหารระดับอาวุโส สิ่งนี้ถือเป็นปัญหาสำหรับทั้งพนักงานและผู้บริหารพนักงานจะรู้สึกสบายใจกับการทำงานให้กับองค์กรได้อย่างไร

เราสามารถจำแนกลักษณะ 3 ประการของความไม่ไว้วางใจในองค์กรออกมาดังนี้

1.ความไม่ไว้วางใจเป็นวงจร (Distrust is self-perpetuating)
เมื่อพนักงานไม่ไว้วางใจในตัวผู้บริหาร ตัวผู้บริหารเองก็จะไว้วางใจในพนักงานน้อยลง
และวงจรนี้ก็จะดำเนินไปเรื่อยๆ เป็นผลให้การทำงานไม่ค่อยราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น
และผู้บริหารก็ไม่ควรนิ่งนอนใจต่อปัญหานี้


2.ความไม่ไว้วางใจเปรียบดั่งไวรัส (Distrust is like a virus)
สามารถเพิ่มทวีคูณยิ่งขึ้นเมื่อได้แพร่กระจายออกไป เมื่อพนักงานใหม่เข้ามาทำงาน พวกเขาก็จะเรียนรู้โดยผ่าน
พนักงานคนเก่าว่าไม่สามารถไว้วางใจเหล่าผู้บริหารได้ เรียกว่า บอกต่อกันปากต่อปาก
โดยที่พนักงานใหม่ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไรกับเจ้านายเพียงแต่ฟังต่อกันมาแล้วเชื่อตามนั้น


3.ความไม่ไว้วางใจก่อให้เกิดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
(Distrust is very resistant to change)
ลูกค้าระดับผู้จัดการอาวุโสท่านหนึ่งเคยมาบ่นกับผมว่า “วิธีเดียวที่เราจะสามารถหยุดความไม่ไว้วางใจนี้ได้ก็คือ
การย้ายองค์กรของเราไปตั้งใหม่ที่อีกซีกหนึ่งของประเทศและจ้างพนักงานใหม่ทั้งหมด”แต่ในความเป็นจริงแล้ว
ผู้บริหารไม่สามารถแก้ปัญหาตามที่พูดไว้ได้จริง หากต้องเผชิญกับปัญหาและแก้ปัญหา ณ จุดที่กำลังเผชิญอยู่
ฟังแล้วอย่าเพิ่งถอดใจปัญหาทุกปัญหาแก้ได้
อาจจะต้องใช้เวลาบ้างพร้อมแนวทางแก้ไขด้วยวิธีการสร้างความไว้วางใจ 5 ประการเริ่มต้นด้วย

1.การไว้วางใจในตัวพนักงาน (Start Trusting Employees)
เพื่อที่จะหยุดวงจรการไม่ไว้วางใจ ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องแสดงให้เห็นว่าตนเองมีความไว้วางใจในตัวพนักงาน
ซึ่งในท้ายที่สุดจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองสามารถไว้วางใจในตัวผู้บริหารได้ ขั้นตอนนี้อาจจะปฏิบัติได้ยากและ
จำเป็นต้องใช้เวลานาน เพราะเป็นเหมือนกับการยอมลดอาวุธทั้งๆ ที่กำลังถูกโจมตีอย่างต่อเนื่อง


2.อย่ากั๊กข้อมูล (Don't Withhold Information)
ผู้จัดการอาวุโสหลายท่านถ่ายทอดเฉพาะข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นเท่านั้น และมักจะปิดบังข้อมูลต่างๆ เช่น
แผนงานในอนาคตและผลประกอบการด้านการเงิน มักไม่ให้พนักงานทราบทั้งที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร
ด้วยเหตุนี้ พนักงานจะรู้สึกว่าข้อมูลที่พวกเขาได้รับนั้นถูกเลือกหรือหน่วงเหนี่ยวปิดบังไว้


3.ซื่อตรงเสมอ (Be Honest at All Times)
หากพนักงานรู้สึกว่าพวกเขาปั่นหัวหรือถูกหลอก
พวกเขาจะหมดความไว้วางใจในตัวผู้บริหารและอาจจะหมดความเชื่อถือในตัวผู้บริหารตลอดไปเลยก็ได้


4.สื่อสารแบบพบหน้ากัน
(Conduct More Face-to-Face Communication)
พนักงานจะรู้สึกว่าเป็นการยากที่จะไว้วางใจในตัวผู้จัดการอาวุโสหากพวกเขาไม่เคยมีโอกาสที่จะได้พบปะกัน
การบริหารงานโดยการเดินตรวจสอบไปรอบๆ เพื่อให้เข้าถึงพนักงานถือเป็นสิ่งสำคัญ


5.รับฟังพนักงาน และแสดงให้พวกเขาเห็นว่าท่านรับทราบสิ่งที่พวกเขาพูด
(Employees and Let them Know You've Heard Them)
พนักงานจะรู้สึกไม่ไว้วางใจในตัวผู้บริหารเป็นอย่างยิ่ง
หากพวกเขารู้สึกว่าความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของพวกเขาถูกเพิกเฉยไม่ได้รับการเอาใจใส่
ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องแสดงให้เห็นว่ารับทราบข้อเสนอแนะของพนักงานโดยดำเนินการตามข้อเสนอแนะนั้นๆ


สำหรับผู้ที่กำลังจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้างาน หรืออยากเป็นดาวรุ่ง
ถามตัวเองสักนิดถ้าคิดจะก้าวหน้าในการทำงาน
คุณมีคุณสมบัติแบบนี้ครบทุกข้อแล้วหรือยัง

1.เรามาทำงานเช้าหรือเปล่า
การมาทำงานแต่เช้าทำให้เรารู้สึกสดชื่น ได้เตรียมการอะไรต่อไว้ให้พร้อมที่จะทำงานเมื่อลูกค้าเข้ามา
การเดินทางก็ไม่รีบเร่ง ไม่เป็นทุกข์ระหว่างการเดินทาง ว่ารถจะช้า รถจะติด จิตใจก็จะปลอดโปร่ง
มาถึงที่ทำงานก็จะได้ดูว่ามีอะไรคั่งค้างอยู่บ้างก็รีบทำเสียให้เสร็จ แล้วเราจะรู้สึกว่าเราพร้อมสำหรับวันนี้
การที่รู้สึกว่าตัวเองมีความพร้อมเป็นความรู้สึกที่ส่งผลถึงความมั่นใจ ความภาคภูมิใจ และเป็นสุขในการทำงาน
ไม่ใช่มาถึงลูกค้าก็รออยู่แล้ว ไหนจะต้องเข้าห้องน้ำ ไหนจะต้องเอาเอกสารออกมา หน้าตาเป็นอย่างไรบ้างลืมดู
แล้วยังไม่ได้กินอะไรอีกต่างหาก ตายละลูกค้าคนนี้ทำไมเรื่องเยอะจัง นี่ก็สายมากแล้ว หิวก็หิว
เลยไม่อยากจะเจรจาต่อรองอะไรมากนัก ออกไปเร็วๆ ก็ดี เราจะได้กินอะไรเสียที
เอ้อ...ทำไมวันนี้มันจึงยุ่งอย่างนี้นะ เอกสารก็ไม่พร้อมดูมันวุ่นวายไม่สิ้นสุด...
อย่างนี้ละก็...เป็นทุกข์อยู่วันละหลายชั่วโมงเชียวละ

2.เราทำงานเก่งหรือเปล่า คนเก่งตกงานไปเยอะมาก ส่วนคนไม่เก่งไม่ต้องพูดถึง แล้วเราละ เก่งหรือเปล่า
แต่บางคนเก่งไม่ได้นาน คนเก่งที่เก่งจะพยายามทำตัวให้เก่งอยู่ตลอดจึงเป็นคนเก่งจริง
ดังนั้นอย่าทำตัวให้ไม่เก่งแบบคนไม่เก่ง เพราะมันจะทำให้เราไม่เก่ง เอาละอย่าลืมถามตัวเองสักนิดว่า
เราเก่งหรือเปล่า เก่งมากไหม ไม่เก่งมากเพราะอะไร จะทำอย่างไรจึงจะเก่งมากกว่านี้

3.เราน่ารักไหม บางคนไม่หล่อไม่สวยแต่น่ารักมาก พูดจาอ่อนหวานรู้จักเอาใจ
ช่างประจบ(เฉพาะเรื่องงานเท่านั้น) บางคนนี่น่ารักจริง สมมติเราไปสอนก็ตั้งใจที่จะเรียนรู้
ระหว่างเรียนก็ดูตั้งใจมีการซักถาม พอเบรกเสร็จ แล้วรีบมาเรียน ดูๆ ก็เห็นทำด้วยความจริงใจ นี่คือความน่ารัก
คนเราทำตัวให้น่ารักได้ ลองคิดดูซิว่าคนอื่นหวังให้เราทำอะไร เราก็ทำอย่างนั้น แค่นี้เราก็น่ารักแล้วละ
พยายามหัดดูความรู้สึกคนอื่นบ้างนะว่าเขาหวังอะไรจากเรา แล้ว เราก็พยายามทำตามนั้นเท่าที่ทำได้ก็น่ารักแล้ว
แม้ทำไม่ได้ แต่ถ้าเราพูดตรงๆ เราก็น่ารักมากแล้ว

4.คุณเป็นคนช่างคิดช่างฝันหรือเปล่า หรือปล่อยให้สนิมเกาะกินจนเต็มสมอง
เพราะถ้าเราใช้ความคิดให้อยู่เต็มสมอง สนิมก็จะไม่เกาะอยู่ในสมอง ดังนั้น เราก็นั่งคิดนั่งฝันไปเรื่อยๆ ว่าวันนี้
พรุ่งนี้เราจะทำอะไร อีก 3-5 ปีเราจะทำอะไรเป็นขึ้นอีกบ้าง เราจะมีบ้านเป็นของตัวเองเมื่อไหร่
แล้วพรุ่งนี้เราจะทำรายงานได้มันดีกว่าเดิมอย่างไร เอาเป็นว่าคิดโน่น คิดนี่อยู่ตลอดเวลา ใหม่ๆ ก็อาจเรื่อยเปื่อย
เป็นลมโชย แต่ต่อไปความคิดที่ดีๆ ก็จะเข้ามาแทรก อันที่ไม่เข้าท่า
แล้วต่อๆ ไป ในสมองก็จะมีแต่ความคิดที่เข้าท่าทั้งนั้น หรือใหม่ๆ อาจจะเป็นความคิดที่เพ้อฝัน
แต่ต่อไปไม่นานความคิดฝันที่สมจริงจะแทรกเข้ามาเรื่อยๆ

5.คุณเป็นคนแต่งตัวดีหรือเปล่า ในยุคนี้มีเสื้อขาวสัก 2-3 ตัวก็เพียงพอ (สำหรับผู้ชายนะ)
เพราะเสื้อขาวใส่ได้กับกางเกงทุกสี และแลดูสะอาด ภูมิฐาน ทำไมต้องไปซื้อที่มีลายมีดอกมาใส่
เพราะเสื้อผ้ายิ่งเด่น คนยิ่งจำได้แม่น ใส่มา 1 วัน เว้นไปตั้ง 4-5 วันเอามาใส่อีกทีคนก็พูดกันแล้วว่า
ทำไมต้องใส่เสื้อตัวเดิมทุกวัน ไม่ต้องซื้อราคาแพงนักก็ได้ การแต่งตัวดี หมายถึงการแต่งแล้วดูดี
คำว่าดูดีหมายถึงดูสะอาด และที่ดูสะอาดหมายถึงดูเรียบร้อยไปด้วย

6.คุณเป็นคนแบบมองไปวันพรุ่งนี้หรือเปล่า คนที่เป็นคนมองแต่วันนี้ กับคนที่มองถึงวันพรุ่งนี้มันต่างกันมาก
คิดจะทำอะไรก็คิดการณ์ไกล มองไปข้างหน้า ตั้งหลักกิโลไว้เป็นระยะแล้ว
วัดตัวเองว่าเราเดินไปถึงหลักกิโลนั่นในเวลาที่เราคิดไว้หรือเปล่า
บางคนเดินแบบไม่มีหลักกิโล ถึงเมื่อไหร่ก็ช่าง อย่างนี้ก็น่าเสียดาย
เพราะเราไม่ได้รับความพอใจในจุดที่เราไปถึงตามระยะเวลานั้น นี่ก็ทำงานมาหลายเดือนหลายปีแล้ว
เราเดินได้กิโลที่เท่าไหร่แล้ว หลักกิโลบางคนอาจหมายถึงเงินในสมุดเงินฝาก
หลักกิโลของบางคนหมายถึงจำนวนเงินที่ยังต้องผ่อนที่ดินที่เหลือน้อยลงทุกวัน จวนเจียนจะโอนได้อยู่แล้ว
หลักกิโลบางคนอาจเป็นเงินที่ส่งเงินให้ทางบ้าน ตอนนี้ก็ส่งไปหลายกิโลแล้ว อะไรประมาณนั้น
แล้วหลักกิโลคืออะไร หรือบางคนหลักกิโลคือส่งลูกเรียน ตอนนี้ก็เดินไปได้หลายกิโลแล้ว เป็นต้น
และ “อย่าพยายามโน้มน้าวให้เชื่อ แต่จงให้ความเข้าใจ เพราะความเข้าใจจะเปลี่ยนทัศนคติได้”

ข้อมูลจากหลักสูตร Management ของ APMLearning


ไม่มีความคิดเห็น: