30 เม.ย. 2554

มารู้จักสารกันแดด



           ระยะเวลากว่าสิบปีที่นักวิทยาศาสตร์หลายๆ ท่านได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็ง และได้ผลสรุปที่ต่างออกไปนั่นคือ การใช้ครีมกันแดดชนิด chemical นั้นอาจเพิ่มอัตราการเกิดมะเร็ง และอันที่จริงแล้วการเผชิญกับแสงแดดบ้างนั้น ยังช่วยลดอัตราการเป็นมะเร็ง และทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้น
ขณะนี้พบว่าการใช้ครีมกันแดดชนิด chemical ปริมาณมาก ๆ นั้น อาจเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โดยเกิดจากคุณสมบัติที่เป็นตัวสร้างอนุมูลอิสระ และยังมีข่าววงในอีกว่า หลาย ๆ คนที่ใช้ครีมกันแดดชนิดนี้ พบว่ามีการทำงานของ estrogenic(ฮอร์โมนเพศหญิง) อย่างหนัก นั่นอาจเป็นเหตุให้เกิดปัญหารุนแรงเกี่ยวกับพัฒนาการทางเพศ ระดับฮอร์โมนเพศผิดปกติ และอาจเพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้
ไม่ได้มีการพิจารณาว่าองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้เป็นสาเหตุของการเป็นเนื้องอกแต่นักเคมีได้ทราบถึงอันตรายของส่วนประกอบในครีมกันแดดชนิดนี้มานานแล้ว เคมีเหล่านั้นมักจะทำให้เกิดการตอบสนองของอนุมูลอิสระในระหว่างที่มีการสังเคราะห์ทางเคมี เคมีเหล่านี้จัดอยู่ในประเภทที่เป็นอันตราย ซึ่งควรเก็บให้ห่าง ไม่ควรให้สัมผัสกับผิวหนัง ในขณะที่ต้องทำงานกับเคมีเหล่านี้ในห้องแล็บ เมื่อจะใช้ก็นำเคมีเหล่านี้มาผสมกันกับเคมีอื่น ๆ จากนั้นก็ใช้แสงอัลตร้าไวโอเลตฉายไปที่ส่วนผสมที่ทำไว้ เคมีที่ดูดซับแสงอัลตร้าไวโอเลตเอาไว้ ก็จะเกิดการสร้างอนุมูลอิสระมากมาย อันจะเป็นการเริ่มต้นของการทำปฏิกิริยาทางเคมีที่ต้องการ

ครีมกันแดดชนิด chemical นั้นมีข้อบกพร่องสำคัญอยู่ 3 ประการ

1. เป็นตัวหลักที่ก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระ การสร้างอนุมูลอิสระนั้นจะทำให้เซลล์ถูกทำลายเพิ่ม และเกิดการเปลี่ยนแปลงอันจะนำไปสู่การเกิดมะเร็ง
2. เป็นเหตุให้เกิดการทำงานของ estrogenic (ฮอร์โมนเพศหญิง) มากเกินจำเป็น  การเปลี่ยนแปลงทางเคมีต่อ Estrogenic ซึ่งไปรบกวนพัฒนาการทางเพศ ก่อให้เกิดปัญหาทางการแพทย์เป็นลำดับต่อมา
3.เป็นเคมีสังเคราะห์ที่อันตรายต่อร่างกายมนุษย์ และจะสะสมในชั้นไขมัน ร่างกายมนุษย์นั้นปรับตัวได้ดีต่อการขับสารพิษ ซึ่งเป็นเช่นนี้มากกว่าสิบล้านปีแล้ว แต่บ่อยครั้งที่พบว่าเป็นการยากที่จะกำจัดสารประกอบใหม่ ๆ และสารที่ไม่ได้จัดเป็นสารทางชีววิทยาเช่น DDT, Dioxin, PCBs, และสารที่อยู่ในครีมกันแดดแบบ chemical

 ครีมกันแดด chemical จะมีสารประกอบเหล่านี้ ที่พวกเราควรหลีกเลี่ยงเอาไว้
Benzophenones (dixoybenzone, oxybenzone)
PABA และ PABA esters (ethyl dihydroxy propyl PAB,  glyceryl PABA, p-aminobenzoic acid, padimate-O หรือ octyl dimethyl PABA)
Cinnamates (cinoxate, ethylhexyl p-methoxycinnamate, octocrylene, octyl methoxycinnamate)
Salicylates (ethylhexyl salicylate, homosalate, octyl salicylate)
Digalloyl trioleate


Reference
Dr.Loren Pickart
แปลและเรียบเรียงโดย Acnethai.com

ไม่มีความคิดเห็น: