เดลิเมล์ - การศึกษาพบความอิจฉาริษยาที่เห็นคนอื่นได้ดีกว่าตัวเอง อาจนำไปสู่โรคหัวใจ เบาหวาน แผลพุพอง และความดันสูง
ทั้งนี้ เชื่อกันว่าความเครียดจากความริษยาและความขาดแคลนส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและ ภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อโรคมากขึ้น
ในการศึกษาที่ชื่อว่า 'มีเพื่อนรวยทำให้คุณป่วยได้หรือเปล่า?' นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐฯ ขอให้อาสาสมัครชายหญิง 3,000 คน ที่อายุระหว่าง 57-85 ปี ให้คะแนนสุขภาพและระบุโรคประจำตัวของตนเอง เช่น โรคหัวใจและเบาหวาน รวมถึงจัดอันดับสถานะการเงินของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนฝูง ครอบครัว เพื่อนบ้านและเพื่อนร่วมงาน
ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครที่มีฐานะการเงินต่ำต้อยเมื่อเทียบกับเครือข่ายสังคม มีแนวโน้มมีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรคหัวใจ มากกว่าคนที่เชื่อว่าทำดีที่สุดแล้วเพื่อตัวเองถึง 22%
ในทางกลับกัน พวกที่อยู่อันดับบนๆ มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน แผลพุพอง และความดันโลหิตสูงลดลง
นักวิจัยยังกล่าวไว้ในรายงานที่อยู่ในวารสารโซเชียล ไซนส์ แอนด์ เมดิซินว่า แม้ความยากจนถูกนำไปเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ แต่ตำแหน่งทางสังคมก็มีบทบาทเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
เจเนวีฟ ฟาม-แคนเตอร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าวว่าความอิจฉาริษยาและความยากจนอาจทำให้สุขภาพหัวใจเสื่อมลงได้
"เชื่อกันว่ากลไกรูปธรรมที่สำคัญที่สุดคือ ความเครียดเรื้อรังที่เกิดจากการเปรียบเทียบในสังคมในแต่ละวันสำหรับผู้ที่ พบว่าตัวเองมีฐานะด้อยกว่า
"ความเครียดซ้ำๆ นี้ทำให้ฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงเรื้อรัง ซึ่งเชื่อว่ามีบทบาทที่ทำให้เกิดโรคบางโรค"
นี่ไม่ใช่รายงานการศึกษาฉบับแรกที่มุ่งสำรวจผลกระทบจากการต้องต่อสู้เพื่อให้มีฐานะทัดหน้าเทียมตาผู้อื่น
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก่อนหน้านี้ พบว่าการไต่บันไดเศรษฐีไม่ได้ทำให้คนเรามีความสุขเสมอไป
การมีเพื่อนบ้านใหม่ที่รวยกว่าอาจทำให้เราเป็นทุกข์ ไม่พอใจ และเกิดการทุ่มเถียง
ความริษยายังทำให้บางคนกระเบียดกระเศียรเกินเหตุเพื่อเก็บเงินซื้อรถ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เชิดหน้าชูคอในสังคม หรือสร้างบ้านหลังโตเพื่อแข่งกับเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ การศึกษาจากผู้ถูกล็อตเตอรี่ยังได้ข้อสรุปว่าเงินซื้อความสุขไม่ได้
แม้เศรษฐีใหม่อาจดูมีความสุขกว่าคนทั่วไป แต่ความสุขนั้นไม่ได้มาจากวัตถุ แต่เป็นเพราะคนเหล่านั้นมีเวลามากขึ้นที่จะได้ชื่นชมกับสิ่งที่โปรดปราน เช่น การนอนแช่ในอ่าง งีบตอนบ่าย หรือเดินเล่นในสวนสาธารณะ
ทีมา ผู้จัดการออนไลน์
ทั้งนี้ เชื่อกันว่าความเครียดจากความริษยาและความขาดแคลนส่งผลต่อระดับฮอร์โมนและ ภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ร่างกายอ่อนแอต่อโรคมากขึ้น
ในการศึกษาที่ชื่อว่า 'มีเพื่อนรวยทำให้คุณป่วยได้หรือเปล่า?' นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐฯ ขอให้อาสาสมัครชายหญิง 3,000 คน ที่อายุระหว่าง 57-85 ปี ให้คะแนนสุขภาพและระบุโรคประจำตัวของตนเอง เช่น โรคหัวใจและเบาหวาน รวมถึงจัดอันดับสถานะการเงินของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนฝูง ครอบครัว เพื่อนบ้านและเพื่อนร่วมงาน
ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า อาสาสมัครที่มีฐานะการเงินต่ำต้อยเมื่อเทียบกับเครือข่ายสังคม มีแนวโน้มมีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะโรคหัวใจ มากกว่าคนที่เชื่อว่าทำดีที่สุดแล้วเพื่อตัวเองถึง 22%
ในทางกลับกัน พวกที่อยู่อันดับบนๆ มีความเสี่ยงโรคเบาหวาน แผลพุพอง และความดันโลหิตสูงลดลง
นักวิจัยยังกล่าวไว้ในรายงานที่อยู่ในวารสารโซเชียล ไซนส์ แอนด์ เมดิซินว่า แม้ความยากจนถูกนำไปเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ แต่ตำแหน่งทางสังคมก็มีบทบาทเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน
เจเนวีฟ ฟาม-แคนเตอร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก กล่าวว่าความอิจฉาริษยาและความยากจนอาจทำให้สุขภาพหัวใจเสื่อมลงได้
"เชื่อกันว่ากลไกรูปธรรมที่สำคัญที่สุดคือ ความเครียดเรื้อรังที่เกิดจากการเปรียบเทียบในสังคมในแต่ละวันสำหรับผู้ที่ พบว่าตัวเองมีฐานะด้อยกว่า
"ความเครียดซ้ำๆ นี้ทำให้ฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงเรื้อรัง ซึ่งเชื่อว่ามีบทบาทที่ทำให้เกิดโรคบางโรค"
นี่ไม่ใช่รายงานการศึกษาฉบับแรกที่มุ่งสำรวจผลกระทบจากการต้องต่อสู้เพื่อให้มีฐานะทัดหน้าเทียมตาผู้อื่น
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดก่อนหน้านี้ พบว่าการไต่บันไดเศรษฐีไม่ได้ทำให้คนเรามีความสุขเสมอไป
การมีเพื่อนบ้านใหม่ที่รวยกว่าอาจทำให้เราเป็นทุกข์ ไม่พอใจ และเกิดการทุ่มเถียง
ความริษยายังทำให้บางคนกระเบียดกระเศียรเกินเหตุเพื่อเก็บเงินซื้อรถ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เชิดหน้าชูคอในสังคม หรือสร้างบ้านหลังโตเพื่อแข่งกับเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ การศึกษาจากผู้ถูกล็อตเตอรี่ยังได้ข้อสรุปว่าเงินซื้อความสุขไม่ได้
แม้เศรษฐีใหม่อาจดูมีความสุขกว่าคนทั่วไป แต่ความสุขนั้นไม่ได้มาจากวัตถุ แต่เป็นเพราะคนเหล่านั้นมีเวลามากขึ้นที่จะได้ชื่นชมกับสิ่งที่โปรดปราน เช่น การนอนแช่ในอ่าง งีบตอนบ่าย หรือเดินเล่นในสวนสาธารณะ
ทีมา ผู้จัดการออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น