13 เม.ย. 2554

7 อุปนิสัยพัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง




หลักของ 7 อุปนิสัย ที่ สตีเฟน อาร์. โคว์วีย์เขียน 7 ขั้นดังต่อไปนี้

1. ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive)
เวลาที่เราต้องการอะไร หรือต้องการจะเริ่มอะไรสักอย่าง จะต้องมีตัวกระตุ้น และตัวกระตุ้นจะทำให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้น หากเราเป็นผู้เริ่มก่อน หรือเป็นตัวกระตุ้น การตอบสนองจะตามมา แต่การที่เราจะทำสิ่งใด ก็ควรอยู่ในขอบเขตที่ทุกคน สามารถยอมรับได้
2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the End in Mind)
การที่เราจะเริ่มต้น ก่อนอื่นมันมักจะมาจากสิ่งที่เราคิดในใจ หลักของ “เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ” นั้นคือการทำสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในจิตใจ และครั้งที่สอง คือการทำให้สิ่งที่เราคิดเป็นจริง แต่การที่เราจะทุ่มแค่แรงใจอย่างเดียวก็ไม่สามารถเกิดประสิทธิผลได้ มันอยู่กับว่าเราเทความพยายามไปในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ และต้องมีศูนย์รวมในตนเองและเป็นการที่เราดำเนินชีวิต และตัดสินใจได้จากฐานความชัดเจนในเป้าหมายชีวิตของเรา สามารถปฏิเสธอย่างไม่รุ้สึกผิดหากสิ่งนั้นไม่ตรงเป้าประสงค์หลักของเรา
3. ทำตามลำดับความสำคัญ (Put First Things First.)
อุปนิสัยที่ 3 เป็นเหมือนภาคปฏิบัติของ อุปนิสัยที่ 1 และ 2 ซึ่งมีทั้ง การจัดการบริหารเวลา, รู้จักปฏิเสธ, ตารางเวลา เพื่อให้เราทำสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก่อน วิธีง่ายๆ ที่จะลองทำคือ เขียนรายชื่อสิ่งที่เราอยากทำ และ เราควรทำ ทำสัญญาลักษณ์แบ่งมันออกเป็น 3 ระดับ คือ สำคัญมากเร่งด่วน, สำคัญมากแต่ไม่เร่งด่วน, ไม่สำคัญมากแต่เร่งด่วน. และทำตามลำดับ สิ่งที่เป็นปัญหาคือเรามักจะถูกแทรกแซงความสนใจไปกับเรื่องที่เร่งด่วนแต่อาจไม่สำคัญต่อเป้าหมายหลัก ส่วนเรื่องที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เป็นการช่วยทำให้เพิ่มศักยภาพต่อการบรรลุเป้าหมายเช่น การออกกำลังกาย ใช้เวลาเพื่อการทบทวนเนื้อหาวิชานั้นเราละเลยไป เชื่อว่าหากเราค้นว่า “สิ่งใดที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ดีขึ้น ณ วันนี้” เราจะทำสิ่งนั้นได้ และจะชัดเจนในการจัดการสิ่งที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญต่อเป้าหมายเราได้
4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ (Think Win-Win)
จริงๆ แล้วมนุษย์มีกรอบความคิด 6 แบบที่กระทำต่อกัน หนึ่งในนั้นคือ การคิดแบบชนะ/ชนะ คือไม่มีผู้แพ้ เป็นข้อตกลงหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรเสีย ก็ขึ้นอยู่กับสถาณการณ์แต่ละสถาณการณ์ ว่าควรใช้แบบอื่นหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อตกลงแบบ คุณก็ชนะ ฉันก็ชนะได้ ก็ตกลงว่า “จะไม่ตกลง” ณ ขณะนี้เพื่อลดสถานการณ์ที่ มีผู้หนึ่งผู้ใดต้องแพ้ จุดตั้งต้นคือต้องเห็นคุณค่าในตนเอง และเห็นความproactiveที่มีค่าของผู้อื่น (I’m Ok, You’re Ok.)บทนี้เน้นการแก้ปัญหาโดยศาลควรเป็นทางเลือกท้ายสุดเพราะมีเพียง แพ้ หรือ ชนะ เท่านั้น
5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (Seek First to Understand, Then to be Understood.)ก่อนบอกความต้องการหรือสิ่งที่เราคิดแล้วอยากให้ผู้อื่นยอมรับ เราต้องให้ความสำคัญและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นต่อเรื่องนั้นๆอย่างลึกซึ้งก่อน ลดการปะทะกัน
6. ประสานพลังสร้างสิ่งใหม่ (Synergize)เกิดจากการยอมรับในคุณค่าของตนเอง และเข้าใจในความแตกต่างที่ผู้อื่นมีมุมมอง ลดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์ซึ่งปิดกั้นความคิดดีๆของกลุ่มคนที่อยู่ด้วยกัน มีเพียงความพยามในการเข้าใจในสิ่งที่ตอนแรกเหมือนจะไม่เห็นด้วยเท่านั้น
7. ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (Sharpen the saw)

ที่มา วิกิพีเดีย

อีกแหล่งที่มา จากบล็อกแกงส์
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ได้ไปเรียนหลักสูตร 7 Habits มา พบว่าส่วนใหญ่แล้วไอ้นิสัย 7 อย่างนี้ก็เป็นสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว เพียงแต่เขาเอามาเรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้ ผมเลยสรุปนิสัยทั้ง 7 มาให้อ่านกัน สนุกๆ
      เริ่มบทด้วย Foundation ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับ กรอบความคิด หมายถึง วิธีการที่เรามอง เข้าใจ และตีความ เขาอธิบายต่อไปว่า สิ่งที่เราเห็นจะกำหนดพฤติกรรม และพฤติกรรมก็จะนำไปสู่ผลลัพธ์ นั่นคือ หากเรามีมุมมองต่อสิ่งหนึ่งในด้านดี เราก็จะปฏิบัติในทางที่ดี ผลที่ดีก็ย่อมเกิด ในทางตรงกันข้าม หากเรามีอคติกับสิ่งใดแล้ว เราก็ย่อมปฏิบัติอย่างมีอคติ ผลที่ออกมาก็จะไม่สู้ดีนัก เข้าสู่นิสัยทั้ง 7 เลยดีกว่า แต่บอกไว้ก่อน 1-3 เป็นนิสัยสำหรับส่วนตัว 4-6 เป็นนิสัยสำหรับส่วนรวมนะ

1 Be Proactive เขาอธิบายว่า เวลาที่มีสิ่งเร้ามากระทบกับตัวเรา หากเราโต้ตอบไปทันที เรียกว่า Reactive แต่ถ้าเราหยุดใช้สติ คิด แล้วเลือกการตอบสนอง เรียกว่า Proactive สรุปง่ายๆ คือ ให้เรามีสติในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เผชิญอยู่นั่นเอง ในนิสัยนี้ยังสอนด้วยว่า เรามักไปกังวลกับสิ่งที่เราไม่สามารถทำอะไรได้ ดังนั้น Proactive สอนให้เราทำในสิ่งที่เราทำได้ให้มากที่สุด ทำตัวเราที่ทำได้ให้ดีที่สุด คุ้นๆ ไหมครับว่าเหมือนหลักอะไร

2 Begin with the End in mind อันนี้ก็ง่ายๆเลย ก่อนที่เราจะทำอะไรให้เราคิดถึงผลลัพธ์สุดท้ายก่อน ว่าอยากให้เป็นอย่างไร แล้วจากผลลัพธ์ที่คิดในใจก็จะแปลเป็นวิธีการไปสู่จุดหมาย หากเราทำงานโดยที่ภาพสุดท้ายไม่ชัดเจน งานมันก็จะออกมาอีหลักอีเหลื่อ แต่ถ้าเรามีภาพสุดท้ายแล้ว ก็เหมือนมีเป้าหมายที่ชัดเจน เราจะรู้ว่าเราต้องเตรียมอะไรอย่างไรบ้าง

3 Put First Things First ก็คือ ทำสิ่งที่สำคัญก่อน ก็จะมีคำถามต่อว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญ ง่ายๆ เลยครับ เราต้องรู้บทบาทหน้าที่ของเราก่อน 1 คนมีได้หลายบทบาท เช่น พ่อ เพื่อน ลูก สามี ลูกจ้าง เจ้านาย พนักงาน ประชาชน ฯลฯ แล้วเราก็จะรู้ว่าในแต่ละบทบาทอะไรคือสิ่งสำคัญ ในบทนี้เขาบอกต้องแยกให้ออกระหว่าง สิ่งสำคัญ/ไม่สำคัญ งานเร่งด่วน/ไม่เร่งด่วน ถ้าเรารู้จักวางแผนดีๆ งานสำคัญไม่เร่งด่วนก็จะเยอะกว่างานด่วนและสำคัญ กับ งานด่วนแต่ไม่สำคัญ

4 Think win-win อันนี้เป็นเรื่องของทัศนคติ ในการทำงาน/ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น คนส่วนใหญ่จะคิดแบบ เราชนะนายแพ้ หรือเรายอมแพ้ให้นายชนะ หรือ เราไม่ได้นายก็ต้องไม่ได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีความสูญเสียเกิดขึ้น ทัศนคติแบบ ชนะ-ชนะ บอกไว้ว่า เรามีทางเลือกเสมอ และมีทางออกที่ดีสำหรับทั้งสองฝ่าย อันนี้ค่อนข้างเป็นสิ่งที่ทำยากหน่อย เพราะมันเริ่มเป็นนิสัยสำหรับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นแล้วอ่ะ

5 Understand before be Understood แปลง่ายๆ เลย คือเข้าใจเขาก่อนที่จะให้เขาเข้าใจเรา วิธีง่ายๆ ก็คือ การฟัง เขาบอกว่าคนเรามักไม่ชอบฟังผู้อื่น มักคิดถึงแต่สิ่งที่ตนจะพูดเท่านั้น และมักด่วนสรุปตัดสินใครง่ายๆ จากการฟังไม่กี่ประโยคเพื่อที่จะให้คำแนะนำจากประสบการณ์ของเราเอง นิสัยนี้เขาสอนให้เราฟังคนอื่นแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา นั่นเอง

6 Synergize หรือ ผนึกพลังผสานความต่าง คนเรามักอยู่ในมุมของตัวเอง ไม่ยอมรับความเห็นของผู้อื่น ถ้าเราเปิดใจยอมรับความเห็นที่แตกต่างได้ นั่นย่อมนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึง 1+1 > 2 ก็เพราะการยอมรับในความต่าง

7 Shappen the saw แปลง่ายๆ ว่า ลับเลื่อยให้คมเสมอ ก็คือหมั่นเติมพลังให้ชีวิต ทั้ง 4 ด้านได้แก่
- ด้านสติปัญญา เช่น อ่านหนังสือ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- ด้านกายภาพ เช่น หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้พอ กินอาหารที่มีประโยชน์
- ด้านอารมณ์ เช่น หมั่นคิดในสิ่งที่ดี ทำดี สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง
- ด้านจิตวิญญาณ เช่น เข้าวัดเข้าโบถส์ อยู่กับธรรมชาติ ทะเล ภูเขา ฟังเพลงที่ชอบ ดูหนังที่สนุก
จะเห็นได้ว่าไอ้นิสัยทั้ง 7 นี้ เราก็รู้ๆ กันอยู่แล้ว มันแทรกสอดอยู่ในวิถีชีวิตของชาวตะวันออกมาช้านาน แล้วคุณ Covey ก็รวบรวมออกมาเป็นหมวดหมู่ ถ้าสังเกตดีๆ นิสัยเหล่านี้เราถูกปลูกฝังกันมาอยู่แล้วตั้งแต่เด็กๆ ทั้งในรูปคำอบรมสั่งสอนจากปู่ย่าตายาย จากศาสนา จากพ่อแม่ ครูอาจารย์ แต่เราไม่ได้เอาออกมาใช้กันเท่าไหร่นัก ซึ่งจริงๆแล้ว มันเอาไปใช้ในชีวิตตั้งหลายเรื่อง เช่น เรื่องการเรียน การงาน ครอบครัว เพื่อนฝูง เป็นต้น

หมายเหตุ วันก่อนอ่านเจอว่า ที่คนเยอรมันและชาวยุโรปอื่นๆ มีนิสัยรักการอ่าน ส่วนหนึ่งมาจากภูมิอากาศ บ้านเมืองเขาหนาวเย็นออกไปไหนก็ลำบาก เขาเลยชินกับการนั่งอ่านหนังสือเป็เวลานาน มาคิดกลับกัน บ้านเราอากาศดีๆอย่างนี้ ข้างนอกก็วิวสวยสดใส ออกไปวิ่งเล่นน่าจะเหมาะกว่านั่งคุดคู้อ่านหนังสือเหรอ??


ไม่มีความคิดเห็น: