2 พ.ค. 2554

น้ำตาลกับสิว



    การรับประทานฟรุ๊คโต้ส และกลูโคส สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ควบคุมระดับการทำงานของฮอร์โมน testosterone และ estrogen ในร่างกายได้ มีการตีพิมพ์ผลที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาของเซลล์ในหนูและมนุษย์ลงในนิตยสาร Clinical Investigation การค้นพบนี้จึงช่วยสนับสนุนคำแนะนำของสาธารณสุขในการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนและหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล

     น้ำตาลหนึ่งช้อนประกอบด้วยกลูโคสและฟรุ๊คโตส ฟรุ๊คโตสนั้นใช้กันแพร่หลายในเครื่องดื่มที่มีรสหวาน, ไซรัป และผลิตภัณฑ์อาหารประเภทไขมันต่ำ อันที่จริงแล้วในอเมริกาเหนือได้กำหนดค่าการบริโภคน้ำตาลที่แนะนำไว้คือ น้ำตาลบริสุทธิ์ไม่ควรเกิน 33 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และความหวานที่ได้จากฟรุ๊คโตสอีกไม่เกิน 20 กิโลกรัม ต่อคนต่อปี

      กลูโคสและฟรุ๊คโตสนั้นจะถูกเผาผลาญที่ตับ เมื่อรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงเข้าไปมาก ตับก็จะเปลี่ยนน้ำตาลนั้นให้เป็นน้ำมัน จากการใช้โครงสร้างการพัฒนาเซลล์ตับของหนูและมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์พบว่าการเพิ่มขึ้นของน้ำมันจะตัดระบบพันธุกรรมที่เรียกว่า SHBG (ฮอร์โมนเพศที่สัมพันธ์กับโปรตีนโกลบูลิน) ลดปริมาณโปรตีน SHBG ในเลือด ซึ่งโปรตีน SHBG นั้นทำหน้าที่ควบคุมปริมาณฮอร์โมน Testosterone และ Estrogen เพื่อการทำงานของร่างกาย

      หากโปรตีน SHBG มีปริมาณน้อย ดังนั้นจะทำให้ในร่างกายมีฮอร์โมน Testosterone และ Estrogen ในปริมาณมากและไปทั่วร่างกาย อันจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิว, ถุงน้ำในรังไข่ และมะเร็งปากมดลูก ในหญิงที่มีน้ำหนักตัวเกิน - - ปริมาณโปรตีน SHBG ที่ไม่ปกติยังอาจรบกวนการสร้างสมดุลระหว่างฮอร์โมน Testosterone และ Estrogen อันเป็นเหตุให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่า

Reference
- Physorg.com
แปลและเรียบเรียงโดย Acnethai.com

ไม่มีความคิดเห็น: